ปัญหาการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์และสถิติที่ใช้ในชีวิตประจำวันของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาระดับปัญหาการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และสถิติที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 5 ด้าน คือ การเรียน อาจารย์ผู้สอน กิจกรรมการเรียนการสอน การประเมินผล และด้านปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน และเพื่อเปรียบเทียบระดับการเรียน จำแนกตามตัวแปรระดับการศึกษา เพศ และคณะ ตลอดจนเพื่อทราบความ...

Full description

Bibliographic Details
Main Authors: นิติสุข, นิรันดร์, จงรัก, บรรจง, สหัสทัศน์, ชนกกานต์
Format: Article in Journal/Newspaper
Language:Thai
Published: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 2016
Subjects:
Online Access:https://www.tci-thaijo.org/index.php/RMUTI_SS/article/view/193656
Description
Summary:การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาระดับปัญหาการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และสถิติที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 5 ด้าน คือ การเรียน อาจารย์ผู้สอน กิจกรรมการเรียนการสอน การประเมินผล และด้านปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน และเพื่อเปรียบเทียบระดับการเรียน จำแนกตามตัวแปรระดับการศึกษา เพศ และคณะ ตลอดจนเพื่อทราบความต้องการของนักศึกษาและแนวทางแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน 1/2557 รวมทั้งสิ้น 142 คนโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิจากประชากร 302 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าตามวิธีการของลิเคอร์ท (Likert) และแบบสอบถามแบบเลือกตอบและแบบปลายเปิดการวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่าง โดยใช้การทดสอบที (t-test) และการทดสอบเอฟ (f-test) ในกรณีพบความแตกต่างเป็นรายคู่ ทดสอบด้วยวิธีการของนิ้วแมน - คูลส์ (Newman -Keule) พบว่าระดับปัญหาการเรียนโดยภาพรวมแต่ละด้านอยู่ในระดับปานกลาง จำแนกตามตัวแปร ระดับการศึกษา และเพศ พบว่าโดยภาพรวมแต่ละด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นปัญหาด้านการประเมินผลการเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ด้านคณะพบว่าโดยภาพรวมด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการประเมินผลการเรียน และด้านปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05ในขณะที่ระดับปัญหาด้านการเรียนของนักศึกษาและด้านอาจารย์ผู้สอนไม่แตกต่างกัน จากข้อเสนอแนะของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า ความต้องการและแนวทางแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์และสถิติที่ใช้ในชีวิตประจำวันของนักศึกษา คือ อาจารย์ควรอธิบายบทเรียนอย่างซัดเจนสอนเนื้อหาช้า ๆ มีกิจกรรมสอนเสริม เพิ่มจำนวนครั้งในการสอบให้มากขึ้นและจัดเอกสารประกอบการเรียนพร้อมเขียนคำอธิบายอย่างละเอียดชัดเจน The purpose of this research was to study the problems of mathematics and statistics used in everyday life of the five areas : education instructor, learning, teaching, assessment and learning support factors, that to compare the level of learning by variable education, gender and faculty as well as to know the needs of students and the teaching and learning solutions. Sample students enrolled a total of 142 people 1/2557 by stratified random sampling from a population of 302 people the tools used to collect the data. The scales on the top of the North Cape (Likert) and query multiple choice and open-ended. Data analysis by the percentage, the average score, the standard deviation, and compare using the t-test and f-test. Test methods of newman - kool’s (Newman - Keule) showed differences in the pair. The result found that overall, of each side is moderate by variable education and gender, and not different except the problem of evaluation that the difference was statistically significant 0.05. We found that the overall activity of teaching, the evaluation and the factors supporting teaching to have the difference were statistically significant at the 0.05. But level academic problems of students and the instructor were not different. Feedback from the students found that the needs and solve the problems of the teaching and learning of mathematics and statistics used in the daily lives of students, teachers should explain the lesson is clear, slowly teaching, teaching activities, increasing the number of exams, and papers to more entrepreneurs with a clear written explanation.