การลดฟลูออไรด์ในน้ำโดยใช้กระดูกวัวและก้างปลา

ประเทศไทยมีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบาดาลสูงในบริเวณจังหวัดภาคเหนือ ภาคตะวันตก รวมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศและจะเป็นอันตรายหากนำน้ำดังกล่าวมาบริโภค ปัจจุบันได้มีการศึกษาวัสดุที่มีความสามารถในการลดปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำได้จากวัสดุหลายชนิดรวมถึงถ่านกระดูกและไฮดรอกซีอะพาไทต์ ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการ...

Full description

Bibliographic Details
Main Authors: Laonapakul, Teerawat, Sutthi, Nirawit, Pranudta, Antika, Padungthon, Surapol
Format: Article in Journal/Newspaper
Language:English
Published: กลุ่มวิจัยวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (Farm Engineering and Automation Technology Research Group, Khon Kaen Univeristy) 2019
Subjects:
Online Access:https://www.tci-thaijo.org/index.php/featkku/article/view/187438
Description
Summary:ประเทศไทยมีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบาดาลสูงในบริเวณจังหวัดภาคเหนือ ภาคตะวันตก รวมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศและจะเป็นอันตรายหากนำน้ำดังกล่าวมาบริโภค ปัจจุบันได้มีการศึกษาวัสดุที่มีความสามารถในการลดปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำได้จากวัสดุหลายชนิดรวมถึงถ่านกระดูกและไฮดรอกซีอะพาไทต์ ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาการสังเคราะห์ถ่านกระดูกและไฮดรอกซีอะพาไทต์จากกระดูกวัวและก้างปลาด้วยวิธีการทางความร้อน การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผลึกของกระดูกวัวและก้างปลาถูกวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ โครงสร้างจุลภาคของถ่านกระดูกและไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่สังเคราะห์ได้จะถูกศึกษาโดยกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด ถ่านกระดูกและไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่สังเคราะห์ได้ถูกนำมาล้างด้วยน้ำปราศจากไอออนและกรดคาร์บอนิคเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการลดปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำด้วยวิธีการแบทซ์ที่ความเข้มข้นของฟลูออไรด์ 10 มิลลิกรัมต่อลิตร ที่ค่าพีเอชเท่ากับ 5 กระดูกวัวและก้างปลาเปลี่ยนโครงสร้างผลึกเป็นถ่านกระดูกและไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่อุณหภูมิ 400 และ 1,000 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ไฮดรอกซีอะพาไทต์จากกระดูกวัวที่ถูกล้างด้วยกรดคาร์บอนิคมีความสามารถในการลดปริมาณฟลูออไรด์สูงสุดที่ 40 % (0.8 มิลลิกรัมฟลูออไรด์/กรัม) โดยใช้ผงไฮดรอกซีอะพาไทต์ 0.5 กรัม Northern, Northeastern, and Western region of Thailand have high levels of fluoride in groundwater. This effect might harm to the health of consumers. Nowadays, several materials involve bone char and hydroxyapatite were studied for the process of fluoride reduction in water. In this study, animal bones from fish and bovine were used as raw materials for the synthesis of bone char and hydroxyapatite using a thermal decomposition method. The transformation of crystalline phase and microstructure of samples were investigated using X-ray diffractometer (XRD) and scanning electron microscope (SEM). Synthesized bone char and hydroxyapatite washed by deionized water and carbonic acid were then investigated for their ability to reduce fluoride in water by using batch equilibration method with 10 mg/L concentration of fluoride at pH 5. The crystalline phase of cow bone transformed to bone char and hydroxyapatite at 400 and 1,000 degrees Celsius, respectively. The 0.5 gram of hydroxyapatite made from bovine bone washed by carbonic acid could maximum reduced 40% (0.8 mg F -/g) of fluoride in water.