Survey of Zoonoses in rodents after flooding event in 2011

This cross - sectional survey of rodents, caught after flooding event in Bangkok, Ayutthaya and Lopburi, was conducted from November 2011 to February 2012. A total of 292 rats were caught including Rattus norvegicus (57.9%), Rattus rattus (20.5%), Bandicota indica (13.7%), Rattus exulans (4.5%), Rat...

Full description

Bibliographic Details
Main Authors: พวงหัตถ์, อภิรมย์, ธีระวัฒน์, รัตนา, แสงจันทร์, นพดล, รอดความทุกข์, วุฒิกรณ์
Format: Article in Journal/Newspaper
Language:Thai
Published: กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค 2014
Subjects:
Online Access:https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/view/154009
https://doi.org/10.14456/dcj.2014.29
Description
Summary:This cross - sectional survey of rodents, caught after flooding event in Bangkok, Ayutthaya and Lopburi, was conducted from November 2011 to February 2012. A total of 292 rats were caught including Rattus norvegicus (57.9%), Rattus rattus (20.5%), Bandicota indica (13.7%), Rattus exulans (4.5%), Rattus argentiventer (1.4%), Bandicota savilei (1%) and Rattus nitidus (196). Male to female ratio was 1 : 1.19. Chigger mites (13.4%), fleas (6.5%) and ticks (0.3%) were the ectoparasites found on these rats. Scrub typhus antibody was found in 36.296 of rats including R.norvegicus (22.1%), R.rattus (8.396), B.indica (3.496), R. argentiventer (1.4%) and R.exulans (1%). There was a significant differences among seroprevalence of scrub typhus in each rat species (p < 0.01). Murine typhus antibody was found in 10.3% of rats including R.norvegicus (7.6%), R.rattus (1.7%) and R.exulans (1.0%). No tick typhus antibody was detected, but leptospira was observed in 1.4% of rats. An endoparasite, Angiostrongylus cantonensis, was found in 1.3% of R.norvegicus caught in Bangkok and 33.3% of R.nitidus caught in Lopburi. Two areas had never been reported Angiostrongylus cantonensis. การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจแบบ cross-sectional surveys โดยดักจับสัตว์ฟันแทะในพื้นที่ หลังประสบอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พระนครศรีอยุธยา และลพบุรี ระยะเวลาดำเนินการระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2554 - กุมภาพันธ์ 2555 ดักจับหนูได้จำนวน 292 ตัว อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมีย 1:1.19 จำแนก หนูได้ 7 ชนิด ได้แก่ หนูท่อ (Rattus norvegicus), หนูท้องขาว (Rattus rattus) หนูพุกใหญ่ (Bandicota indica) หนูจี๊ด (Rattus exulans) หนูนาใหญ่ (Rattus argentiventer) หนูพุกเล็ก (Bandicota savilei) และหนูนาชาวเขา (Rattus nitidus) ร้อยละ 57.9, 20.5, 13.7, 4.5, 1.4, 1.0 และ 1.0 และพบปรสิตภายนอกดังนี้ ไรอ่อน หมัด เห็บ ร้อยละ 13.4, 6.5 และ 0.3 สำหรับผลการตรวจพบแอนติบอดีต่อเชื้อสครับไทฟัสในทุกพื้นที่การศึกษา คิดเป็นร้อยละ 36.2 พบในหนู 5 ชนิด ได้แก่ หนูท่อ (R.norvegicus) หนูท้องขาว (R.rattus) หนูพุกใหญ่ (B.indica) หนูนาใหญ่ (R.argentiventer) และหนูจี๊ด (R.exulans) ร้อยละ 22.1, 8.3, 3.4, 1.4 และ 1.0 ตามลำดับ พบว่า มีความแตกต่างระหว่างชนิดของหนูที่พบแอนติบอดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.01) สำหรับแอนติบอดีต่อมิวรีนไทฟัสทุกพื้นที่การศึกษาพบเช่นเดียวกัน คิดเป็นร้อยละ 10.3 พบในหนู 3 ชนิด ได้แก่ หนูท่อ (R.norvegicus), หนูท้องขาว (R.rattus) และหนูจี๊ด (R.exulans) ร้อยละ 7.6, 1.7 และ 1.0 แต่ไม่พบแอนติบอดีต่อทิคไทฟัสจากตัวอย่างที่ส่งตรวจ พบเชื้อเลปโตสไปร่าชนิดก่อโรคในหนูท่อ (R.norvegicus) ร้อยละ 1.4 แต่ไม่พบในหนูชนิดอื่น พบพยาธิปอดหนูหรือพยาธิหอยโข่ง (Angiostrongylus cantonensis) ในหนูท่อ ในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 1.3 และหนูนาชาวเขาในพื้นที่จังหวัดลพบุรี ร้อยละ 33.3 ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่เคยมีรายงานการเกิดโรคมาก่อน