การปนเปื้อนไมโครพลาสติกในหอยฝาเดียวและหอยสองฝา: กรณีศึกษาบริเวณตลาดท่าเทียบเรือประมง จังหวัดชลบุรี ...

การปนเปื้อนของชิ้นพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร หรือไมโครพลาสติก ถือเป็นปัญหาสำคัญของทั่วโลก เนื่องจากการปนเปื้อนไมโครพลาสติกอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ ปัจจุบันพบว่าไมโครพลาสติกสามารถปนเปื้อนในอาหารทะเลโดยเฉพาะหอยที่เป็นสัตว์น้ำที่คนนิยมนำมาบริโภคทั้งตัว ไมโครพลาสติกจ...

Full description

Bibliographic Details
Main Author: พรนภา แซ่ลี้
Format: Dataset
Language:unknown
Published: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2563
Subjects:
Online Access:https://dx.doi.org/10.14457/tu.the.2020.773
http://doi.nrct.go.th/?page=resolve_doi&resolve_doi=10.14457/TU.the.2020.773
Description
Summary:การปนเปื้อนของชิ้นพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร หรือไมโครพลาสติก ถือเป็นปัญหาสำคัญของทั่วโลก เนื่องจากการปนเปื้อนไมโครพลาสติกอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ ปัจจุบันพบว่าไมโครพลาสติกสามารถปนเปื้อนในอาหารทะเลโดยเฉพาะหอยที่เป็นสัตว์น้ำที่คนนิยมนำมาบริโภคทั้งตัว ไมโครพลาสติกจึงปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหารและสามารถเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ได้ แม้ว่าจะพบการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในหอยในหลายประเทศทั่วโลก แต่ในประเทศไทยข้อมูลการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในหอยที่จำหน่ายในตลาดประมงขนาดใหญ่บริเวณใกล้ท่าเทียบเรือประมงยังมีไม่มากนัก ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงศึกษาการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในหอยฝาเดียว ได้แก่ หอยหวาน (Babylonia areolata) หอยชักตีน (Strombus canarium)และหอยสองฝา ได้แก่ หอยแมลงภู่ (Mytilus edulis) หอยแครง (Anadara granosa) หอยนางรม (Crassostrea gigas) ซึ่งหอยทั้ง 5 ชนิด เป็นหอยที่คนไทยนิยมบริโภคที่มีจำหน่ายในตลาดประมงแห่งใหญ่บริเวณใกล้ท่าเทียบเรือประมงของประเทศไทย ผลการศึกษาพบไมโครพลาสติกปนเปื้อนในหอยฝาเดียว จำนวนเฉลี่ย 6.5±3.20 ชิ้น/กรัม หรือ 35.93±13.40 ชิ้น/ตัว และหอยสองฝา จำนวนเฉลี่ย 6.9±3.48 ...