ประเทศไทยกับการจัดการปัญหาความเป็นกรดในมหาสมุทรที่มีแหล่งกำเนิดจากเรือและจากการทิ้งเท ...

ความเป็นกรดในมหาสมุทร (Ocean Acidification) เป็นผลที่เกิดขึ้นจากการดูดซับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จำนวนมากจากชั้นบรรยากาศเขาสู่มหาสมุทร นอกจากนั้น ความเป็นกรดในมหาสมุทรอาจเกิดขึ้นได้จากภาวการณ์รั่วไหลของคาร์บอนที่เกิดจาก การกักเก็บในพื้นดินใต้ทะเลโดยวิธีการดักจับและกักเก็บ CO2 (Carbon Captur...

Full description

Bibliographic Details
Main Author: ประดิภา สุวรรณรัตน์
Format: Dataset
Language:unknown
Published: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2563
Subjects:
Online Access:https://dx.doi.org/10.14457/tu.the.2020.606
http://doi.nrct.go.th/?page=resolve_doi&resolve_doi=10.14457/TU.the.2020.606
Description
Summary:ความเป็นกรดในมหาสมุทร (Ocean Acidification) เป็นผลที่เกิดขึ้นจากการดูดซับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จำนวนมากจากชั้นบรรยากาศเขาสู่มหาสมุทร นอกจากนั้น ความเป็นกรดในมหาสมุทรอาจเกิดขึ้นได้จากภาวการณ์รั่วไหลของคาร์บอนที่เกิดจาก การกักเก็บในพื้นดินใต้ทะเลโดยวิธีการดักจับและกักเก็บ CO2 (Carbon Capture and Storage) เมื่อ CO2 รวมกับน้ำทะเลในมหาสมุทรจะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีทำให้เกิดกรดคาร์บอนิก ซึ่งทำให้น้ำทะเลมีความเป็นกรด โดยความเป็นกรดของน้ำทะเลนี้จะส่งผลกระทบโดยตรงกับสิ่งมีชีวิตในทะเลเช่น การเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ หรือการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตในทะเลอย่างมีนัยยะสำคัญ กฎหมายระหว่างประเทศที่สามารถนำมาปรับใช้กับการแก้ไขปัญหาความเป็นกรดในมหาสมุทรที่วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษา คือ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หรือ UNCLOS จากการศึกษาพบว่าความเป็นกรดในมหาสมุทรเป็นภาวะมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลซึ่งสอดคล้องกับคำนิยามในข้อ 1 (1)(4) ของ UNCLOS ดังนั้นรัฐภาคีของ UNCLOS จึงมีพันธกรณีในการคุ้มครองและสงวนรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล ตลอดจนให้รัฐมีหน้าที่ในการออกกฎหมายหรือมาตรการที่จำเป็นใด ๆ เพื่อป้องกัน ลด ...