ระลอกอากาศเย็นในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทยและความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปรรายปีและภายในฤดูกาล

ทำการวิเคราะห์สถิติของระลอกอากาศหนาว (cold surge) ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย และความเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ ENSO (El Niño-Southern Oscillation) ซึ่งผันแปรรายปีและปรากฏการณ์ MJO (Madden-Julian Oscillation) ซึ่งผันแปรภายในฤดูกาล โดยใช้ข้อมูล NCEP/NCAR Reanalysis ปี ค.ศ.1980–2011 พบว่า cold...

Full description

Bibliographic Details
Main Author: วรุตม์ เจนจิรวัฒนา
Format: Dataset
Language:unknown
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2556
Subjects:
Online Access:https://dx.doi.org/10.14457/cu.the.2013.93
http://doi.nrct.go.th/?page=resolve_doi&resolve_doi=10.14457/CU.the.2013.93
id ftdatacite:10.14457/cu.the.2013.93
record_format openpolar
spelling ftdatacite:10.14457/cu.the.2013.93 2023-05-15T15:11:39+02:00 ระลอกอากาศเย็นในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทยและความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปรรายปีและภายในฤดูกาล วรุตม์ เจนจิรวัฒนา 2556 https://dx.doi.org/10.14457/cu.the.2013.93 http://doi.nrct.go.th/?page=resolve_doi&resolve_doi=10.14457/CU.the.2013.93 unknown จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลมฟ้าอากาศ ฤดูกาล ไทย -- ภูมิอากาศ Weather Seasons Thailand -- Climate dataset Dataset 2556 ftdatacite https://doi.org/10.14457/cu.the.2013.93 2021-11-05T12:55:41Z ทำการวิเคราะห์สถิติของระลอกอากาศหนาว (cold surge) ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย และความเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ ENSO (El Niño-Southern Oscillation) ซึ่งผันแปรรายปีและปรากฏการณ์ MJO (Madden-Julian Oscillation) ซึ่งผันแปรภายในฤดูกาล โดยใช้ข้อมูล NCEP/NCAR Reanalysis ปี ค.ศ.1980–2011 พบว่า cold surge และ strong cold surge มีความถี่ในการเกิดเฉลี่ยประมาณ 13 และ 2 ครั้งต่อปีตามลำดับ ความถี่รายเดือนของ cold surge เกิดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน และมีนาคม ส่วน strong cold surge เกิดมากที่สุดในเดือนมกราคม ซึ่งสัมพันธ์กับความแรงของ Siberian high อายุของ cold surge และ strong cold surge พบตั้งแต่ 1-50 วัน โดยพบที่อายุ 4 และ 5 วันมากที่สุดตามลำดับ อายุเฉลี่ยของ cold surge และ strong cold surge อยู่ที่ประมาณ 8 และ 17 วัน มีค่าความกดอากาศสูงสุดเฉลี่ยที่ไซบีเรียที่ 1045.1 และ 1055.9 hPa ตามลำดับ โดยค่าความกดอากาศสูงสุดเฉลี่ยที่ไซบีเรียของ cold surge และ strong cold surge ในแต่ละช่วงอายุ ไม่สัมพันธ์กับอายุของ cold surge และ strong cold surge จากการศึกษาทิศทางของ cold surge และ strong cold surge พบว่ามีทิศทางการเคลื่อนที่ไปทางใต้และมีผลต่อประเทศไทย 56% ไปทางทางตะวันออกที่จีนและญี่ปุ่น 16% และไม่มีผลต่อสองบริเวณดังกล่าว 25% เมื่อพิจารณาพัฒนาการของ cold surge อายุ 4 วันและ strong cold surge อายุ 5 พบว่ามีความแตกต่างของทิศทางการเคลื่อนที่ขึ้นอยู่กับการวางตัวของ trough axis ที่ 500 hPa หากวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ (ตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้) จะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ลงมาทางใต้ (ตะวันออก) เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ของ cold surge และ strong cold surge รายปีกับดัชนี ONI ซึ่งเป็นดัชนีบ่งชี้ปรากฏการณ์ ENSO พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กัน แต่เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ของ cold surge ทั้งหมดตามการเคลื่อนที่กับดัชนี ONI พบว่าในปี La Niña (El Niño) จะพบความถี่รายปีและรายเดือนของ cold surge ที่เคลื่อนที่ลงมาทางใต้และมีผลต่อภาคอีสานของประเทศไทย (ไปทางตะวันออกและมีผลต่อประเทศจีน กับไม่มีผลต่อสองบริเวณ) มาก ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างความถี่รายเดือนของ strong cold surge กับ ENSO จะพบ strong cold surge ในปี La Niña และในกลางฤดูมากที่สุด ซึ่งสัมพันธ์กับความแรงของ Siberian high รายเดือนซึ่งแรงมากที่สุดในปี La Niña และในช่วงกลางฤดูเช่นกัน เมื่อพิจารณาพัฒนาการของ cold surge อายุ 4 วันในปี El Niño, La Niña และ ปีปกติ พบว่า ในปี La Niña ความกดอากาศบริเวณทะเลจีนใต้จะมีค่าต่ำกว่าปกติ สอดคล้องกับอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างความกดอากาศบริเวณละติจูดกลางกับเขตร้อนมีค่ามากขึ้น ตลอดจนตำแหน่ง trough axis อยู่ลึกกว่า ส่งผลให้ความเร็วลมฝ่ายเหนือเพิ่มสูงขึ้นและอุณหภูมิที่ผิวพื้นลดต่ำลง ทำให้ cold surge แผ่ลงไปทางใต้มากกว่าในปี El Niño ค่าความกดอากาศสูงสุดเฉลี่ยที่ไซบีเรียของ cold surge และ strong cold surge ที่อายุ 4-5 วันที่แบ่งตามการเคลื่อนที่และที่ถูกแบ่งตามเหตุการณ์ ENSO นั้นไม่ได้ขึ้นกับปัจจัยจากเหตุการณ์ ENSO อย่างเดียว ยังมีปัจจัยจากปรากฏการณ์ที่เขตหนาวด้วย เช่น ปรากฏการณ์ Blocking ที่ Atlantic หรือ North Atlantic/Arctic Oscillation(NAO/AO) เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ของ cold surge กับปรากฏการณ์ MJO พบว่า cold surge อายุ 1-9 วันซึ่งพบได้มากและที่อายุ 4 วันที่ลงมาทางใต้ซึ่งพบได้มากที่สุด พบอยู่ในช่วง weak MJO มากที่สุด รองลงมาคือ MJO phase 2,3 และ MJO phase 4,5 ตามลำดับ เพราะบริเวณเมฆฝนของ MJO phase 2,3 และ MJO phase 4,5 ที่อยู่บริเวณ Maritime continent จะทำให้เกิดความกดอากาศต่ำกว่าปกติที่เขตร้อน ทำให้เกิดความแตกต่างของความกดอากาศของบริเวณเขตหนาวและเขตร้อนได้มากขึ้น จึงทำให้เกิดมวลอากาศเย็นเคลื่อนที่ลงมาทางใต้และเกิด cold surge ที่ประเทศไทยในรูปของฝนที่ภาคใต้ของประเทศไทยและตอนกลางของประเทศเวียดนามตามลำดับ Dataset Arctic Atlantic Arctic Atlantic-Arctic North Atlantic DataCite Metadata Store (German National Library of Science and Technology) Arctic
institution Open Polar
collection DataCite Metadata Store (German National Library of Science and Technology)
op_collection_id ftdatacite
language unknown
topic ลมฟ้าอากาศ
ฤดูกาล
ไทย -- ภูมิอากาศ
Weather
Seasons
Thailand -- Climate
spellingShingle ลมฟ้าอากาศ
ฤดูกาล
ไทย -- ภูมิอากาศ
Weather
Seasons
Thailand -- Climate
วรุตม์ เจนจิรวัฒนา
ระลอกอากาศเย็นในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทยและความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปรรายปีและภายในฤดูกาล
topic_facet ลมฟ้าอากาศ
ฤดูกาล
ไทย -- ภูมิอากาศ
Weather
Seasons
Thailand -- Climate
description ทำการวิเคราะห์สถิติของระลอกอากาศหนาว (cold surge) ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย และความเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ ENSO (El Niño-Southern Oscillation) ซึ่งผันแปรรายปีและปรากฏการณ์ MJO (Madden-Julian Oscillation) ซึ่งผันแปรภายในฤดูกาล โดยใช้ข้อมูล NCEP/NCAR Reanalysis ปี ค.ศ.1980–2011 พบว่า cold surge และ strong cold surge มีความถี่ในการเกิดเฉลี่ยประมาณ 13 และ 2 ครั้งต่อปีตามลำดับ ความถี่รายเดือนของ cold surge เกิดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน และมีนาคม ส่วน strong cold surge เกิดมากที่สุดในเดือนมกราคม ซึ่งสัมพันธ์กับความแรงของ Siberian high อายุของ cold surge และ strong cold surge พบตั้งแต่ 1-50 วัน โดยพบที่อายุ 4 และ 5 วันมากที่สุดตามลำดับ อายุเฉลี่ยของ cold surge และ strong cold surge อยู่ที่ประมาณ 8 และ 17 วัน มีค่าความกดอากาศสูงสุดเฉลี่ยที่ไซบีเรียที่ 1045.1 และ 1055.9 hPa ตามลำดับ โดยค่าความกดอากาศสูงสุดเฉลี่ยที่ไซบีเรียของ cold surge และ strong cold surge ในแต่ละช่วงอายุ ไม่สัมพันธ์กับอายุของ cold surge และ strong cold surge จากการศึกษาทิศทางของ cold surge และ strong cold surge พบว่ามีทิศทางการเคลื่อนที่ไปทางใต้และมีผลต่อประเทศไทย 56% ไปทางทางตะวันออกที่จีนและญี่ปุ่น 16% และไม่มีผลต่อสองบริเวณดังกล่าว 25% เมื่อพิจารณาพัฒนาการของ cold surge อายุ 4 วันและ strong cold surge อายุ 5 พบว่ามีความแตกต่างของทิศทางการเคลื่อนที่ขึ้นอยู่กับการวางตัวของ trough axis ที่ 500 hPa หากวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ (ตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้) จะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ลงมาทางใต้ (ตะวันออก) เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ของ cold surge และ strong cold surge รายปีกับดัชนี ONI ซึ่งเป็นดัชนีบ่งชี้ปรากฏการณ์ ENSO พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กัน แต่เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ของ cold surge ทั้งหมดตามการเคลื่อนที่กับดัชนี ONI พบว่าในปี La Niña (El Niño) จะพบความถี่รายปีและรายเดือนของ cold surge ที่เคลื่อนที่ลงมาทางใต้และมีผลต่อภาคอีสานของประเทศไทย (ไปทางตะวันออกและมีผลต่อประเทศจีน กับไม่มีผลต่อสองบริเวณ) มาก ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างความถี่รายเดือนของ strong cold surge กับ ENSO จะพบ strong cold surge ในปี La Niña และในกลางฤดูมากที่สุด ซึ่งสัมพันธ์กับความแรงของ Siberian high รายเดือนซึ่งแรงมากที่สุดในปี La Niña และในช่วงกลางฤดูเช่นกัน เมื่อพิจารณาพัฒนาการของ cold surge อายุ 4 วันในปี El Niño, La Niña และ ปีปกติ พบว่า ในปี La Niña ความกดอากาศบริเวณทะเลจีนใต้จะมีค่าต่ำกว่าปกติ สอดคล้องกับอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างความกดอากาศบริเวณละติจูดกลางกับเขตร้อนมีค่ามากขึ้น ตลอดจนตำแหน่ง trough axis อยู่ลึกกว่า ส่งผลให้ความเร็วลมฝ่ายเหนือเพิ่มสูงขึ้นและอุณหภูมิที่ผิวพื้นลดต่ำลง ทำให้ cold surge แผ่ลงไปทางใต้มากกว่าในปี El Niño ค่าความกดอากาศสูงสุดเฉลี่ยที่ไซบีเรียของ cold surge และ strong cold surge ที่อายุ 4-5 วันที่แบ่งตามการเคลื่อนที่และที่ถูกแบ่งตามเหตุการณ์ ENSO นั้นไม่ได้ขึ้นกับปัจจัยจากเหตุการณ์ ENSO อย่างเดียว ยังมีปัจจัยจากปรากฏการณ์ที่เขตหนาวด้วย เช่น ปรากฏการณ์ Blocking ที่ Atlantic หรือ North Atlantic/Arctic Oscillation(NAO/AO) เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ของ cold surge กับปรากฏการณ์ MJO พบว่า cold surge อายุ 1-9 วันซึ่งพบได้มากและที่อายุ 4 วันที่ลงมาทางใต้ซึ่งพบได้มากที่สุด พบอยู่ในช่วง weak MJO มากที่สุด รองลงมาคือ MJO phase 2,3 และ MJO phase 4,5 ตามลำดับ เพราะบริเวณเมฆฝนของ MJO phase 2,3 และ MJO phase 4,5 ที่อยู่บริเวณ Maritime continent จะทำให้เกิดความกดอากาศต่ำกว่าปกติที่เขตร้อน ทำให้เกิดความแตกต่างของความกดอากาศของบริเวณเขตหนาวและเขตร้อนได้มากขึ้น จึงทำให้เกิดมวลอากาศเย็นเคลื่อนที่ลงมาทางใต้และเกิด cold surge ที่ประเทศไทยในรูปของฝนที่ภาคใต้ของประเทศไทยและตอนกลางของประเทศเวียดนามตามลำดับ
format Dataset
author วรุตม์ เจนจิรวัฒนา
author_facet วรุตม์ เจนจิรวัฒนา
author_sort วรุตม์ เจนจิรวัฒนา
title ระลอกอากาศเย็นในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทยและความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปรรายปีและภายในฤดูกาล
title_short ระลอกอากาศเย็นในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทยและความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปรรายปีและภายในฤดูกาล
title_full ระลอกอากาศเย็นในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทยและความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปรรายปีและภายในฤดูกาล
title_fullStr ระลอกอากาศเย็นในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทยและความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปรรายปีและภายในฤดูกาล
title_full_unstemmed ระลอกอากาศเย็นในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทยและความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปรรายปีและภายในฤดูกาล
title_sort ระลอกอากาศเย็นในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทยและความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปรรายปีและภายในฤดูกาล
publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
publishDate 2556
url https://dx.doi.org/10.14457/cu.the.2013.93
http://doi.nrct.go.th/?page=resolve_doi&resolve_doi=10.14457/CU.the.2013.93
geographic Arctic
geographic_facet Arctic
genre Arctic
Atlantic Arctic
Atlantic-Arctic
North Atlantic
genre_facet Arctic
Atlantic Arctic
Atlantic-Arctic
North Atlantic
op_doi https://doi.org/10.14457/cu.the.2013.93
_version_ 1766342479545630720